วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พื้นฐานการเรียนรู้บรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์คืออะไร

“บรรจุภัณฑ์” หมายถึง สินค้าทุกชนิดที่ทำจากวัสดุใดๆ ที่นำมาใช้สำหรับห่อหุ้ม ป้องกัน ลำเลียง จัดส่ง และนำเสนอสินค้า ตั้งแต่วัตถุดิบถึงสินค้าที่ผ่านการผลิต ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงผู้ใช้หรือผู้บริโภค
“บรรจุภัณฑ์” ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์สำหรับการขาย (Sales packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่หนึ่ง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขายของให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภค ณ จุดซื้อ บรรจุภัณฑ์กลุ่ม (Group packaging) หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สอง ได้แก่บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ที่จุดซื้อกลุ่มสินค้าที่มีจำนวนขายมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขายให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภคหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นี้จะถูกใช้เพื่อการดึงสินค้าจากชั้นวางของ ณ จุดขายก็ตาม บรรจุภัณฑ์นี้สามารถถูกดึงออกจากสินค้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเฉพาะตัวของสินค้า บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง หรือบรรจุภัณฑ์ลำดับที่สาม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการลำเลียงและขนส่งสินค้า ที่ขายจำนวนมากหรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายทางกายภาพระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งไม่รวมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทาง ถนน รางเลื่อน เรือหรือทางอากาศ

การตีความหมายของคำว่า “บรรจุภัณฑ์” ให้ถือตามเกณฑ์ต่อไปนี้

จะถือว่าของสิ่งหนึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ ต่อเมื่อของสิ่งนั้นเป็นไปตามความหมายที่กล่าวข้างต้น โดยไม่พิจารณาคาบเกี่ยวกับหน้าที่อื่นที่บรรจุภัณฑ์อาจทำได้ เว้นแต่สิ่งสิ่งนั้นจะถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า และมีความจำเป็นเพื่อห่อหุ้ม พยุง หรือถนอมรักษาสินค้าตลอดอายุของสินค้านั้น และมีวัตถุประสงค์ให้ใช้ บริโภค หรือทิ้ง องค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้าตัวอย่าง

สิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่: กล่องขนมหวาน แผ่นฟิล์มห่อรอบกล่องซีดี

ตัวอย่างสิ่งที่ไม่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่: กระถางดอกไม้ที่มุ่งหวังให้อยู่คู่กับต้นไม้ตลอดอายุของต้นไม้ กล่องใส่เครื่องมือช่าง ถุงชา ชั้นแว็กซ์ห่อหุ้มเนยแข็ง ผิวหุ้มไส้กรอก เป็นต้น

ให้ถือว่า สิ่งที่ถูกออกแบบและมีวัตถุประสงค์ให้เติมเต็ม ณ จุดขาย และขายสิ่งที่ทิ้งได้ ที่ถูกเติมเต็มหรือออกแบบและมีวัตถุประสงค์ให้เติมเต็ม ณ จุดขาย เป็นบรรจุภัณฑ์ หากสิ่งสิ่งนั้น ทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์

ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่: ถุงหิ้วทำจากกระดาษหรือพลาสติก จานหรือถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง พลาสติกใสปิดหน้าอาหาร (พลาสติกแรป) ถุงแซนวิช แผ่นฟอลย์อลูมิเนียม เป็นต้น

ตัวอย่างสิ่งที่ไม่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่: ที่คน มีดแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น

ให้ถือว่า ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนช่วยที่รวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์ เป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ที่รวมองค์ประกอบเหล่านั้น ให้ถือว่า ส่วนช่วยที่แขวนโดยตรงกับหรือติดกับสินค้าที่ทำหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ เป็นบรรจุภัณฑ์ เว้นแต่ของเหล่านั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า และมีวัตถุประสงค์ให้บริโภค และทิ้งองค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้าตัวอย่าง
สิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่: แผ่นป้าย Label ที่แขวนโดยตรงหรือติดบนตัวสินค้า เป็นต้น
ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ตามเกณฑ์นี้ ได้แก่: แปรงมาสคาร่า ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝาปิดตลับมาสคาร่า Label ที่ติดกับบรรจุภัณฑ์ชิ้นอื่น ลวดเย็บกระดาษ ซองพลาสติก 




การแบ่งชนิดของบรรจุภัณฑ์


บรรจุภัณฑ์
ตามปกติเราสามารถแบ่งภาชนะบรรจุได้เป็น 2 แบบ คือ

แบบที่ 1
 คือ ภาชนะบรรจุเพื่อการขนส่ง เป็นภาชนะบรรจุชั้นนอกซึ่งใช้เพื่อการขนส่ง
และเก็บรักษา ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการลำเลียงขนส่ง รวมทั้งช่วยป้องกัน
สินค้ามิให้เสียหายในระหว่างการขนส่ง 

แบบที่2 คือ ภาชนะบรรจุเพื่อการขายปลีกคือ ภาชนะบรรจุหน่วยย่อยที่มีสินค้าอยู่
ลูกค้าสามารถสัมผัสได้โดยตรง และใช้เป็นหน่วยของการขายปลีก ภาชนะบรรจุ
ประเภทนี้ ควรมีคุณสมบัติในการรักษาคุณภาพของสินค้า ตลอดจนแจ้งข้อมูลของ
สินค้าได้ครบถ้วนและช่วยดึงดูดผู้บริโภคได้

“บรรจุภัณฑ์” สามารถจำแนกประเภทได้ดังนี้ 

1.บรรจุภัณฑ์สำหรับการขาย (Sales packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการขายของให้กับผู้บริโภค ณ จุดซื้อหรือผู้ใช้รายสุดท้าย
2.บรรจุภัณฑ์กลุ่ม (Group packaging) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ที่จุดซื้อกลุ่มสินค้าที่มี
จำนวนขายมากกว่าหนึ่ง ไม่ว่าสินค้านั้นจะถูกขายให้กับผู้ใช้รายสุดท้ายหรือผู้บริโภค
หรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าบรรจุภัณฑ์นี้จะถูกใช้เพื่อการดึงสินค้าจากชั้นวางของ ณ จุดขาย
ก็ตาม บรรจุภัณฑ์นี้สามารถถูกดึงออกจากสินค้าโดยไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะ
เฉพาะตัวของสินค้า
3.บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่ง คือ บรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการลำเลียงและ
ขนส่งสินค้า ที่ขายจำนวนมากหรือกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายทาง
กายภาพระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์สำหรับการขนส่งไม่รวมตู้คอนเทนเนอร์สำหรับ
การขนส่งทาง ถนน รางเลื่อน เรือหรือทางอากาศ

การจะถือว่าของสิ่งหนึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ ได้ต่อเมื่อ ของสิ่งนั้นเป็นไปตามความหมายที่
กล่าวข้างต้น โดยไม่พิจารณาคาบเกี่ยวกับ หน้าที่อื่นที่บรรจุภัณฑ์อาจทำได้
เว้นแต่สิ่งสิ่งนั้นจะถูกผนวกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า และมีความจำเป็นเพื่อ
ห่อหุ้ม พยุง หรือ ถนอมรักษาสินค้าตลอดอายุของสินค้านั้น และมีวัตถุประสงค์ให้
ใช้ บริโภค หรือทิ้ง องค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้า

ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์นี้ เช่น กล่องใส่ช็อคโกแลต
ตัวอย่างสิ่งที่ไม่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์นี้ เช่น กระถางดอกไม้ที่เปลี่ยน
ไม่ได้ กล่องใส่เครื่องมือช่าง ผิวหุ้มไส้กรอก ถุงชา ชั้นแว็กซ์ห่อหุ้มเนยแข็ง เป็นต้น

สำหรับสิ่งที่ถูกออกแบบและมีวัตถุประสงค์ให้เติมเต็ม ณ จุดขาย และขายสิ่งที่ทิ้งได้
ที่ถูกเติมเต็มหรือออกแบบและมีวัตถุประสงค์ ให้เติมเต็ม ณ จุดขาย เป็นบรรจุภัณฑ์
หากสิ่งสิ่งนั้น ทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์


ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์นี้ เช่น จานหรือถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง
พลาสติกใสปิดหน้าอาหาร (พลาสติกแรป) ถุงแซนวิชถุงหิ้วทำจากกระดาษหรือพลาสติก

ตัวอย่างสิ่งที่ไม่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์นี้ เช่น มีดพลาสติกใช้แล้วทิ้ง
ที่คนอาหาร ให้ถือว่า ส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์ หรือส่วนช่วยที่รวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์
เป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ที่รวมองค์ประกอบเหล่านั้น
สำหรับส่วนช่วยที่แขวนโดยตรงกับหรือติดกับสินค้าที่ทำหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์
เป็นบรรจุภัณฑ์ เว้นแต่ของเหล่านั้นจะเป็นส่วนหนึ่ง ของสินค้า และมีวัตถุประสงค์ให้บริโภค
และทิ้งองค์ประกอบทุกชิ้นพร้อมกับสินค้า

ตัวอย่างสิ่งที่ถือเป็นบรรจุภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์นี้ เช่น แผ่นป้ายเลเบล ที่แขวนโดยตรง
หรือติดบนตัวสินค้าลวดเย็บกระดาษ ซองพลาสติก แปรงมาสคาร่า ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝาปิดตลับมาสคาร่า Label ที่ติดกับบรรจุภัณฑ์ชิ้นอื่น ถ้วยตวง ผงซักฟอกที่เป็นส่วนหนึ่งของภาชนะใส่ผงซักฟอก



บรรจุภัณฑ์กระดาษ


บรรจุภัณฑ์กระดาษ

บรรจุภัณฑ์กระดาษ 

ชนิดของกระดาษมีหลายแบบ และมีคุณภาพแตกต่างกันตามความเหนียว ทนทานต่อการฉีกขาด ดึงขาด ดันทะลุ สามารถตัด ดัด พับ งอ ได้ง่าย สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้หลายแบบ กระดาษเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดและมีราคาถูกที่สุด โดยปกติทั่วไป น้ำและก๊าซซึมผ่านกระดาษได้ดี ไม่สามารถป้องกันความชื้น อ่อนปวกเปียกเวลาโดนน้ำหรืออยู่ในสภาวะที่เปียกชื้นมีความคงรูป พิมพ์ได้งดงาม และสามารถใช้หมุนเวียน รีไซเคิลได้จึงไม่ก่อปัญหามลภาวะ สามารถทำเป็นหีบห่อได้มากมาย ตั้งแต่ถุงชนิดต่าง ๆ กล่องกระดาษ แต่ละชนิดมีความเหมาะสมกับการใช้งานแตกต่างกันไปตามลักษณะของสินค้าและสิ่งแวดล้อม

ลักษณะโดยทั่วไปของบรรจุภัณฑ์กระดาษ มี 8 แบบ คือ
1. ถุงกระดาษ มีทั้งแบบแบนราบ ( ใช้ใส่อาหารชิ้นเล็ก ๆ ที่มีน้ำหนักเบา ) แบบมีขยายข้างและก้น ( ใช้บรรจุสินค้าที่มีปริมาณมาก เช่น แป้ง คุกกี้ ข้าวสาร ฯลฯ หรือใช้บุเป็นถุงในกล่องกระดาษแข็ง ) และแบบผนึก 4 ด้าน บรรจุสินค้าประเภทเครื่องเทศ คุณสมบัติของกระดาษที่ใช้ขึ้นกับการใช้งานเป็นหลัก กล่าวคือ สินค้าที่มีน้ำหนักมากควรใช้กระดาษเหนียวซึ่งมี ค่าของการต้านแรงดันทะลุ และการต้านแรงดึง ขาด อยู่ในเกณฑ์สูง หากสินค้ามีความชื้นสูงหรือเก็บในสภาวะเปียกชื้น กระดาษที่มีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ ๆ เช่น กระดาษเคลือบไข กระดาษเคลือบพลาสติก เป็นต้น 


2. ถุงกระดาษหลายชั้น สินค้าที่นิยมคือ ปูนซีเมนต์ อาหารสัตว์ สารเคมี เม็ดพลาสติก ถุงประเภทนี้มีทั้งแบบปากเปิด และแบบมีลิ้น แต่ละแบบอาจจะมีส่วนขยายข้างด้วยก็ได้ วัสดุที่ใช้ทำจากกระดาษเหนียวที่ทำจากเยื่อเส้นใยยาว เพื่อให้มีความเหนียวสูง หากต้องการเพิ่มคุณสมบัติในด้านป้องกันความชื้นก็อาจเคลือบด้วยพลาสติก หรือยางมะตอยอีกชั้นหนึ่งวัสดุที่ใช้ทำถุงและซองกระดาษ ส่วนใหญ่นิยมใช้กระดาษคราฟท์ ซึ่งมีความหนาบางนำมาซ้อนเป็นผนังหลายชั้น หรือเคลือบผิวแตกต่างกันไปตามหน้าที่ใช้สอย เหมาะสำหรับขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมากกว่า 10 กิโลกรัมเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมากสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องอุปโภคบริโภคในหน่วยขายแบบปลีกย่อยซึ่งจัดได้ว่าเป็น Individual package อีกแบบหนึ่ง ที่มีความใกล้ชิดกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นสื่อโฆษณาประเภทสิ่งพิมพ์ที่แสดงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้ดีอีกด้วย

3. ซองกระดาษ ใช้บรรจุสินค้าต่าง ๆ เช่น ใบเลื่อย หัวสว่าน ยาเม็ด เมล็ดพืช จดหมาย ฯลฯ การเลือกใช้ขนาดและชนิดของซองขึ้นกับชนิดของสินค้าและความแน่นหนาที่ต้องการกระดาษที่ใช้ทำซองต้องพิจารณาถึงความคุ้มครอง รูปร่าง และราคาเป็นหลัก

4. เยื่อกระดาษขึ้นรูปมีทั้งชนิดที่ทำจากเยื่อบริสุทธิ์ซึ่งใช้บรรจุอาหารสำเร็จรูปและอาหารที่เข้าตู้อบไมโครเวฟได้ และชนิดที่ทำจาก เยื่อเศษกระดาษซึ่งใช้บรรจุ ไข่ ผัก ผลไม้สด และทำเป็นวัสดุกันกระแทก การเลือกใช้ต้องคำนึงถึงชนิดของผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุเป็นสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค

5. ถังกระดาษ มีลักษณะเช่นเดียวกับกระป๋องกระดาษ แต่มีขนาดใหญ่ ใช้เพื่อการขนส่ง สินค้าที่นิยมบรรจุคือ สารเคมี เม็ดพลาสติก ฯลฯ การเลือกใช้ต้องคำนึงความแข็งแรงเมื่อเรียงซ้อนเป็นหลักโดยการทดสอบค่าของการต้านแรงกด

6. กระป๋องกระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์รูปทรงกระบอกที่ได้จากการพันกระดาษทับกันหลาย ๆ ชั้น พันแบบเกลียวหรือแบบแนวตรง ถ้าใช้กระดาษเหนียวแต่เพียงอย่างเดียวจะเรียกว่า Paper Can นิยมใช้บรรจุของแห้ง แต่ถ้าใช้วัสดุร่วมระหว่าง กระดาษเหนียว / อลูมิเนียมฟอยล์ / พลาสติก จะเรียกว่า Compostie Can ซึ่งมักจะบรรจุอาหารประเภทขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ ฝากระป๋องมักเป็นโลหะหรือพลาสติกบางครั้งจะใช้ฝา แบบมีห่วงเปิดง่าย การเลือกใช้ต้องพิจารณาคุณภาพของตะเข็บระหว่างตัวกระป๋องฝาและรอยต่อของการพัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการรั่วซึม 

7. กล่องกระดาษแข็ง
เป็นบรรจภัณฑ์กระดาษขายปลีกที่ได้รับความนิยมสูงสุดสามารถทำจากกระดาษแข็งได้หลายชนิด อาทิ กระดาษไม่เคลือบ ( กระดาษขาว - เทากระดาษเคลือบ กระดาษการ์ด กระดาษอาร์ตมัน กระดาษฮาร์ตบอร์ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเคลือบวัสดุอื่น เช่น วานิชพลาสติก ไข เพื่อปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น รูปแบบของกล่องกระดาษแข็งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กล่องแบบพับได้ (Folding Carton) หรือ (Cardboard) กล่องแบบคงรูป (Set-Up Box) ส่วนกระดาษแข็งที่ใช้ทำกล่องมี 2 ประเภทดังนี้

1. กระดาษกล่องขาวเคลือบ นิยมใช้ในการบรรจุสินค้าอุปโภคและบริโภคกันมากเพราะสามารถพิมพ์ระบบออฟเซ็ทสอดสีได้หลายสีสวยงาม และทำให้สินค้าที่บรรจุภายในกล่องดูมีคุณค่าขึ้น มีขายตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป เรียกอีกชื่อว่ากระดาษแข็งเทา - ขาว ในการทำกล่องบรรจุผลิตกัณฑ์อาหารนิยมใช้กระดาษชนิดนี้เพราะหาซื้อง่าย 


2. กระดาษกล่องขาวไม่เคลือบคล้ายกับชนิดเคลือบแต่เนื้อหยาบกว่า สีขาวของกระดาษไม่สม่ำเสมอ แต่มีราคาถูกกว่า ต้องพิมพ์ด้วยระบบธรรมดา เช่น กล่องใส่รองเท้า กล่องใส่ขนมไหว้พระจันทร์ เป็นต้น การเลือกใช้กล่องกระดาษแข็ง ต้องดูคุณสมบัติการใช้งานเป็นหลัก เช่น ความสามารถในการรับน้ำหนักได้ประมาณ 2- 3 ปอนด์ แล้วแต่ขนาดและความหนาของกระดาษ ความเรียบของผิวกระดาษความชื้น การต้านแรงดันทะลุ ความหนา ความขาว สว่าง สามารถพิมพ์สีสรรได้ดี คงทนต่อการโค้งงอ สามารถพับเป็นแผ่นแบนได้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บและขนส่งมีขนาดมากามายให้เลือกได้ตามต้องการ ง่ายที่จะตัด เจาะหรือบิด

กระดาษมีราคาถูก ทั้งวัสดุและกรรมวิธีการผลิตในการออกแบบกล่องกระดาษแข็งการเลือกขนาดของกระดาษและแบบของกล่องจะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดและชนิดของสินค้า การตั้งวางต้องคงตัว แข็งแรง ให้ความสวยงามเมื่อตั้งวางเป็นกลุ่ม ง่ายแก่การหยิบจับ


8. กล่องกระดาษลูกฟูก
เป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษที่มีปริมาณการใช้เยอะมากเนื่องจากล่องกระดาษลูกฟูกมีน้ำหนักเบา สามารถออกแบบให้มีขนาดรูปทรงและมีความแข็งแรงได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถพิมพ์รูปภาพและข้อความบนกล่องได้อย่างสวยงามเพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อและหรือแจ้งข้อมูลรายละเอียดของสินค้าได้ด้วย โดยทั่วไปกล่องกระดาษลูกฟูกจะทำหน้าที่เพื่อการขนส่ง แต่สามารถออกแบบเพื่อการขายปลีกได้ โครงสร้างของกล่องกระดาษลูกฟูกขึ้นกับจำนวนแผ่นกระดาษลูกฟูก ส่วนประกอบของกระดาษ ชนิดของลอน รูปแบบของกล่อง ขนาดของกล่อง รอยต่อของกล่องและการปิดฝากล่อง
การออกแบบต้องคำนึงถึงสภาพการใช้งานและคุณสมบัติของสินค้า ถ้าสินค้านั้นๆเป็นประเภทที่สามารถรับน้ำหนักกดทับได้ ( อาหารกระป๋อง ขวดแก้ว ฯลฯ ) การกำหนดคุณภาพของกล่องควรยึดค่าการต้านแรงดันทะลุเป็นหลัก แต่ถ้าสินค้าไม่สามารถรับน้ำหนักกดทับได้หรือรับได้เพียงเล็กน้อย เช่น ผัก ผลไม้สด อาหารบรรจุในขวดหรือถุงพลาสติก ฯลฯ ก็ควรกำหนดคุณภาพของกล่องด้วยค่าของการต้านแรงกดของกล่อง โดยพิจารณาจากสภาพการลำเลียงขนส่งและเก็บรักษาควบคู่กันไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น